วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาษาไทยมาจาก? หาคำตอบได้ข้างล่างนี้้้!!

อักษรไทย และคนไทย

ตัวอักษร ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะร่วมกันของผู้คนชนเผ่าต่างๆ ขึ้น แล้วเกิดรวมตัวกันมากขึ้นเรียกต่อมาว่า ชนชาติ ราวหลัง พ.ศ.๑๕๐๐ มีชื่อสมมุติเรียกตัวเองต่างๆ กันว่า มอญ เมื่อมีตัวอักษรมอญ กับ เขมร เมื่อมีตัวอักษรเขมร
อักษรไทยวิวัฒนาการจากอักษรขอม เมื่อราวหลัง พ.ศ.๑๗๐๐ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาในรัฐละโว้-อโยธยา แล้วแพร่หลายขึ้นไปถึงรัฐสุโขทัยก่อน หลังจากนั้นได้กระจายไปยังบ้านเมืองแว่นแคว้น "เครือญาติ" ในตระกูลไทย-ลาวอื่นๆ

คำที่ออกเสียงว่า ไท หรือ ไต มีอยู่ก่อนแล้วในกลุ่มชนที่พูดตระกูลภาษาลาว หรือ "ตระกูลลาว" (ชื่อนี้ก็สมมุติเรียกกันภายหลัง) แล้วมีความหมายเดียวกันหมดว่าคน (ที่ต่างจากสัตว์) ชนกลุ่มนี้เป็นประชากรตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกับชนกลุ่มอื่นๆ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เมื่อได้รับอารยธรรม "ทวารวดี" ต่อเนื่องถึงอารยธรรมมอญและเขมร จนเติบโตขึ้นเป็นชนชั้นปกครองในรัฐละโว้-อโยธยา แล้วพัฒนาตัวอักษรของตัวเองขึ้นมา เลยสมมุติชื่อเรียกกลุ่มของตนว่า "ไทย"
อาจเป็นไปได้ว่าคนกลุ่มอื่นเรียกคนกลุ่มนี้ตามคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วว่าไทหรือไต แต่เขียนเป็นอักษรขอม ภาษาบาลีว่า ไทย ต่อมาคนกลุ่มนี้เลยรับไว้เป็นชื่อเรียกตัวเองไปด้วย ดังมีชื่อในวรรณคดียุคต้นๆ เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนกาพย์เบิกโรง ยังเขียนว่า ไท ไม่มี ย ตามหลัง
น่าสังเกตว่าพวกที่รับตัวอักษรไทยจากรัฐละโว้-อโยธยา มักเรียกตัวเองว่าเป็นคนไท หรือไทย เช่น รัฐสุโขทัย แต่ดินแดนอื่นรัฐอื่นที่รับตัวอักษรจากที่อื่นจะไม่เรียกตัวเองเป็นคนไทหรือไทย เช่น รัฐล้านนากับรัฐล้านช้าง รับตัวอักษรมอญไปปรับใช้ เรียกตัวเองว่าลาว หมายถึงท่านหรือผู้เป็นใหญ่ แต่รัฐล้านนาถูกทำให้เป็นไทยเมื่อหลังแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ แล้วถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ส่วนรัฐล้านช้างยังเป็นคนลาวและประเทศลาว สืบจนทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น