วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

*เด็กแว้น*

ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า *เด็กแว้น* ไว้ว่า 
"วัยรุ่นผู้ชายที่ชอบเร่งเครื่องมอเตอร์ไซค์ให้มีเสียงดังแว้น ๆ "

ส่วนใน วิกิพีเดีย ได้จำกัดความไว้ว่า "ผู้ที่อายุประมาณ 15-28 ปี ที่ออกขับมอเตอร์ไซค์ไปเป็นกลุ่มในเวลากลางคืน มีลักษณะการแต่งกาย และทรงผม รวมถึงรสนิยมการฟังเพลง"

ที่มาของคำและความหมาย
เด็กแว้นหรือแซปนั้น มีผู้สันนิษฐานว่ามาจาก "แซปคุง" (Zabbkung) ซึ่งเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาในโอกาสครบรอบ 7 ปีของสตูดิโอเขียนการ์ตูน มอนสเตอร์คลับ (สตูดิโอของคนไทย ผู้วาดการ์ตูนเรื่อง Joe the Sea-cret Agent) ส่วนคำว่าแว้นนั้น มาจากเสียงท่อไอเสียที่ดัดแปลงให้เสียงดังขึ้น รวมไปถึงเสียงดังที่เกิดจากการบิดหนีตำรวจ แต่ก่อนสมัยเครื่องยนต์ 2 จังหวะ เมื่อบิดก็จะเกิดเสียงดัง "แว้น ๆๆๆ"[2]
ในอดีตระหว่างคำสองคำนี้จะใช้แตกต่างกัน "เด็กแซป" นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะวงการมอเตอร์ไซด์ แต่จะเหมารวมถึงกลุ่มเด็กที่ชอบทำตัวให้โดดเด่นสะดุดสายตาชาวบ้านด้วยวิธีการผิด ๆ เพื่อให้เป็นที่สนใจ เช่น การชกต่อยในงานฟรีคอนเสิร์ต ใส่เสื้อผ้าสีสันบาดตา ไม่เรียนหนังสือ มั่วสุมอยู่แถวโต๊ะสนุกเกอร์ แต่ที่พวกเด็กแซปชื่นชอบมากเป็นพิเศษ คือ การดัดแปลงรถมอเตอร์ไซค์ และรวมตัวกันเป็นแก๊ง และในที่สุดก็ได้พัฒนากลายมาเป็น "เด็กแว้น"

‎"คำศัพท์บัญญัติใหม่ ตอน 3"

ขิงแก่ หมายถึง ผู้อาวุโสที่มีความสามารถ มีประสบการณ์

เข้าเกียร์ถอยหลัง หมายถึง ยอมแพ้

คนพันธุ์อา หมายถึง นักเรียนอาชีวศึกษา

คนมีสี หมายถึง กลุ่มบุคคลที่แต่งเครื่องแบบ

คั่ว หมายถึง คบกันอย่างคู่รักมานานแล้ว

คำตอบสุดท้าย หมายถึง ข้อสรุป หรือผลสรุปที่ยุติแล้ว

เคลียร์ หมายถึง ปรับความเข้าใจ พูดคุยให้เข้าใจกัน

โคโยตี้ หมายถึง ผู้หญิงที่เต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน

เจก หมายถึง เต็มที่ แย่ นานมาก

จวก หมายถึง ว่าร้ายด้วยวาจา ว่าหรือตำหนิอย่างรุนแรง

แฟนพันธุ์แท้ หมายถึง ผู้รู้ สนใจ เข้าใจ ชื่นชมสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือผู้ใดผู้หนึ่งอย่างแท้จริง

ภุชงค์ หมายถึง ผู้ชายแท้

แสล๊น หมายถึง เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควร เมื่อเขาไม่ต้องการ หรือไม่ได้เรียกหา

หน่อมแน้ม หมายถึง อ่อนแอ ไม่สู้ใคร แหย ทำอะไรไม่เป็น

หนาว หมายถึง รู้สึกถึงความน่ากลัว

หลุดโลก หมายถึง ทำตัวแปลกอย่างมาก

ในพจนานุกรมคำใหม่ที่กำลังจะจัดพิมพ์ ได้มีการรวบรวมคำใหม่ๆ ไว้มากเหมือนกัน แต่ก็มีคำที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างคำว่า “เหวง” เป็นต้น ส่วนคำอื่นๆ ที่เก็บไว้แล้วก็มีเช่น

ไก่กา หมายถึง ไม่จริงใจ โกหก หลอกลวง

เขี้ยว หมายถึง มีเล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิงมาก

โสภา หมายถึง ทำให้พอใจ สุขสบาย

หนอน หมายถึง อวัยวะเพศชาย

อภิเชต หมายถึง รู้สึกซาบซึ้งใจ

"คำศัพท์บัญญัติใหม่ ตอน 2"

เซเล็บ หมายถึง คนดัง ผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม

เซอร์ หมายถึง แต่งกายแปลก มักไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคม

แซว หมายถึง พูดล้อ

เด็กก๊อย หมายถึง เด็กผู้หญิงที่ซ้อนท้ายตอเตอร์ไซค์ของเด็กแว้น ในลักษณะกอดรัดผู้ชายนุ่งกางเกงยีนขาสั้นมากๆ

เด็กแนว หมายถึง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมหรือแต่งตัวเป็นแบบเฉพาะของตน

เด็กแว้น หมายถึง วัยรุ่นผู้ชายที่ชอบเร่งเครื่องมอเตอร์ไซค์ให้มีเสียงดังแว้นๆ

เดิ้น หมายถึง ทันสมัย

แดนซ์กระจาย หมายถึง เต้นรำอย่างเมามัน

ตุ๋ย หมายถึง ร่วมเพศทางทวารหนัก

บ๊ะ หมายถึง อวบอัด

กลืนเลือด หมายถึง กล้ำกลืนความเจ็บแค้นอย่างแสนสาหัส

กวนตีน หมายถึง ชวนให้หมั่นไส้จนอยากทำร้าย

กั๊ก หมายถึง กักไว้ส่วนหนึ่ง

กัด หมายถึง คอยหาเรื่อง

กิ๊ก หมายถึง เพื่อนสนิททางเพศซึ่งอาจมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว

กินถั่วดำ หมายถึง นิยมชายรักร่วมเพศ

กิ๊กเก๋ หมายถึง น่ารัก เท่

เก๋า หมายถึง เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์หรือความชำนาญมาก

แก๊ก หมายถึง มุกตลก คำพูดหรือเรื่องราวที่พูดเพื่อให้ขบขัน

ของขึ้น หมายถึง อาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง เชื่อว่าเกิดจากอำนาจของขลัง

ขาโจ๋ หมายถึง วัยรุ่น

‎คำศัพท์บัญญัติใหม่ ตอน 1


กวนโอ๊ย หมายถึง ชวนให้หมั่นไส้

คิกขุ หมายถึง ทำเป็นเด็ก ใส ซื่อ บริสุทธิ์ น่าเอ็นดู

เด็กปั้น, เด็กสร้าง หมายถึง คนที่ถูกฝึกหรือได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่ที่มีอำนาจหรือ มีชื่อเสียง

เปิดตัว หมายถึง แนะนำให้เป็นที่รู้จักครั้งแรก

จิ๊ด หมายถึง รู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง

ติ๊ด, ติสต์ หมายถึง ผู้มีอารมณ์และจินตนาการทางศิลปะ มักมีความคิด บุคลิกการแต่งกายแปลกจากคนทั่วไ

บิ๊ก หมายถึง นายใหญ่ เจ้านาย

กูรู หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้

ฟันธง หมายถึง พูดให้ชัดเจน ตัดสินด้วยความเชื่อมั่น

ก่งก๊ง หมายถึง มึนๆ งงๆ

กระชากวัย หมายถึง แต่งตัวหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ดูอ่อนกว่าวัยมาก

กระแส หมายถึง ความนิยมเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง

กรี๊ดสลบ หมายถึง ตื่นเต้น และชื่นชมมาก

เจ๋ง หมายถึง ชัดแจ้ง ตรงไปตรงมา จะจะ ต่อหน้า

แจม หมายถึง ร่วมด้วย

โฉนด หมายถึง เนื้อเพลงหรือข้อความจดไว้สำหรับดูในเวลาร้องเพลง หรือพูดในที่ประชุม

ชะนี หมายถึง ผู้หญิง (เป็นคำที่กะเทยใช้เรียกผู้หญิง)

เช็กบิล หมายถึง คิดเงิน หรือทำร้ายเพื่อตอบโต้

ซ่าส์ หมายถึง ทำตัวเด่นดัง ทำตัวเป็นข่าว

ซื่อบื้อ หมายถึง ซื่อแบบไม่ทันคน

"พจนานุกรมคำใหม่"

"พจนานุกรมคำใหม่"

ในระยะสอง-สามปีที่ผ่านมานี้ ราชบัณฑิตยสถานได้จัดทำพจนานุกรมคำใหม่ขึ้น และจัดพิมพ์เผยแพร่ไป 2 เล่มแล้ว เวลานี้กำลังจะพิมพ์เล่มที่สาม พจนานุกรมคำใหม่นี้เป็นพจนานุกรมที่เก็บรวบรวมคำ และสำนวนที่เกิดขึ้นใหม่ บางคำก็เป็นคำที่มีอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 แล้ว แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีใช้ความหมายขยายไป หรือเปลี่ยนความหมายไปจากเดิม 


ส่วนจะมีคำว่าอะไรบางนั้น ติดตามโพสต่อไป

"Ice-cream" ภาษาไทยเราจะเรียกมันว่าอะไร?

"Ice-cream" ภาษาไทยเราจะเรียกมันว่าอะไร? "ไอติม","ไอศครีม","ไอศกรีม"

คำว่า Ice-cream คนไทยเรามักออกเสียงง่ายๆ ว่า “ไอติม” เช่น ไปกินไอติมกันไหม หรือกินติมกัน แต่ครั้นจะต้องเขียนคำเต็มๆ ที่ถูกต้องก็เลยเขียนไม่ออกบอกไม่ได้

คำว่า Ice-cream ในพจนานุกรม เขาให้เขียนว่า “ไอศกรีม” คือให้เขียนตามการออกเสียงของฝรั่งเจ้าของภาษา เพราะคำว่า Ice (แปลว่า น้ำแข็ง) ออกเสียงว่า “ไอซ” คำว่า Cream (แปลว่า ครีม) ออกเสียงว่า “กรีม” เมื่อนำมารวมกันโดยวิธีสมาส (สมาสชน สนธิเชื่อม) ก็เป็น”ไอซ+กรีม” กลายเป็นคำว่า “ไอศกรีม” ออกเสียงว่า ไอ – สะ – กรีม (ใช้ ศ แทน ซ เพราะถ้าใช้ ซ จะออกเสียงว่า ไอ-ซะ-กรีม)

แน่ใจหรือ ว่านนี่คือภาษาไทยแท้!!!




มีคำศัพท์หลายคำที่เราใช้คุยกันอยู่ในทุกวัน จนเราคิดว่าเป็นคำไทยแท้ แต่คำเหล่านั้นเป็นคำที่เรายืมมาจากภาษาอื่น ซึ่งคำเหล่านี้เราจะเรียกมันว่า “คำทับศัพท์”

ตัวอย่าง
1. กงสุล มาจากภาษาอังกฤษว่า consul
2. คูปอง มาจากคำว่า coupon
3.รองเท้าคัตชู มาจาก Court shoes ในภาษาอังกฤษ หรือ Chaussures ในภาษาฝรั่งเศส
4.ราชปะแตน เดิมเรียกว่า "ราชแปตแตน" มาจากคำบาลีผสมอังกฤษว่า Raj Pattern แปลว่า "แบบหลวง"
5.โกสน เพี้ยนมาจากคำว่า "โกรต๋น" หรือ Croton ในภาษาอังกฤษหมายถึงไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง
6.ฟุตบาท นั้น มาจากคำเดิมจากภาษาอังกฤษว่า "Footpath" ที่หมายถึงบาทวิถีหรือทางเท้า จริงๆ ต้องออกเสียงว่า "ฟุตปาธ

"สวัสดี" มาจากไหน?


"สวัสดี" มาจากไหน?

 "สวัสดี" หมายถึง ความดี ความงาม ความปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง การอวยชัยให้พร คำทักทาย หรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน
ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) โดยพิจารณามาจากศัพท์ "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสติ" ในภาษาสันสกฤต โดยได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเห็นชอบให้ใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม เป็นต้น
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ปรับเสียงของคำว่า "สวสฺติ" ที่ท่านได้สร้างสรรค์ขึ้นให้ง่ายต่อการออกเสียงของคนไทย จากคำสระเสียงสั้น (รัสสระ) ซึ่งเป็นคำตาย มาเป็นคำสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ซึ่งเป็นคำเป็น ทำให้ฟังไพเราะ รื่นหูกว่า จึงกลายเป็น "สวัสดี" ใช้เป็นคำทักทายที่ไพเราะและสื่อความหมายดีๆ ต่อกันของคนไทย ส่วนคำว่า "ราตรีสวัสดิ์" ซึ่งเป็นคำแปลจากคำว่า "good night" ซึ่งเป็นคำลาในภาษาอังกฤษ ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เช่นกัน โดยกำหนดให้คนไทยทักกันตอนเช้าว่า "อรุณสวัสดิ์" มาจากคำว่า "good morning" และให้ทักกันในตอนบ่ายว่า "ทิวาสวัสดิ์" มาจากคำว่า "good afternoon" ส่วนตอนเย็นให้ทักกันว่า "สายัณห์สวัสดิ์" มาจากคำว่า "good evening" แต่เนื่องจากต้องเปลี่ยนไปตามเวลา จึงไม่เป็นที่นิยม คนไทยนิยมใช้คำว่า "สวัสดี" มากกว่า เพราะใช้ได้ตลอดเวลา แต่กระนั้น คนไทยก็ยังคงใช้อยู่บ้างบางคำคือ คำว่า อรุณสวัสดิ์ และราตรีสวัสดิ์


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ฉ่อยภาษาไทย


มารู้จักภาษาวิบัติแบบฮาๆ ไปกับมาดามมด



สุภาษิต - คำพังเพยเกี่ยวกับน้ำ

สุภาษิต - คำพังเพยเกี่ยวกับน้ำ


1 น้ำหนึ่งใจเดียว
หมายถึง มีความคิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2 น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
หมายถึง พึ่งพาอาศัยกัน

3 น้ำซึมบ่อทราย
หมายถึง หาได้มาเรื่อยๆ

4 น้ำสั่งฟ้าปลาสั่งฝน
หมายถึง สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจากลา

5 น้ำร้อนปลาเป็น
หมายถึง คำพูดตรงไปตรงมาแต่ไม่มีพิษร้าย

6 น้ำเย็นปลาตาย
หมายถึง คำพูดอ่อนหวานแต่อาจเป็นโทษได้

7 น้ำนิ่งไหลลึก
หมายถึง คนที่เงียบๆมักมีความคิดลึกซึ้ง

8 น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก
หมายถึง แม้ไม่พอใจแต่ก็ยังยิ้มแย้ม

9 คลื่นใต้น้ำ
หมายถึง เหตูการณ์ที่ภายนอกดูสงบ แต่ภายในกรุ่นอยู่



10 ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน
หมายถึง นำศัตรูเข้าบ้าน

11 ชักแม่น้ำทั้งห้า
หมายถึง พูดจาหว่านล้อมเพื่อหวังสิ่งตอบแทน

12 น้ำท่วมปาก
หมายถึง พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัย

13 น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
หมายถึง พูดมาก แต่สาระน้อย

14 มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
หมายถึง ไม่ช่วยทำแล้วยังขัีดขวางการทำงาน

15 ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้
หมายถึง ด่วนทำๆไปโดยยังไม่ถึงเวลา

16 น้ำขึ้นให้รีบตัก
หมายถึง มีโอกาสดีควรรีบทำ

17 น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
หมายถึง โอกาสใคร คนนั้นยอมชนะ

18 น้ำน้อยแพ้ไฟ
หมายถึง ฝ่ายน้อยย่อมแพ้ฝ่ายมาก

19 น้ำลด ตอผุด
หมายถึง เมื่อหมดอำนาจความชั่วก็เริ่มปรากฏ

** หวังว่าจะได้ความรู้จาก สุภาษิต - คำพังเพย ไม่มากก็น้อย
อันไหนตรงกับชีวิตประจำวันก็ลองไปพูดไปใช้ดู ถือเป็นการอนุรักษ์สำนวนไทยไว้
 

กลอนสักวาคืออะไร?

กลอนสักวา (อ่านว่า สัก-กะ-วา โบราณเขียนว่า สักกรวา) เป็นชื่อของร้อยกรองประเภทกลอนลำนำ ชนิดหนึ่ง 1 บทมี 4 คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ 'สักวา' และลงท้ายด้วยคำ 'เอย'
กลอนสักวาถูกนำมาใช้ทั้งแบบที่เป็นบทประพันธ์ธรรมดา ของผู้ที่มีความสามารถทางด้านการประพันธ์ และนำมาใช้เป็นการละเล่นโต้ตอบกันระหว่างผู้เล่นหลายคน ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้านร้อยกรอง และยังต้องอาศัยไหวพริบปฏิภาณของผู้เล่นที่จะสามารถโต้ตอบกันได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
การเล่นสักวานี้เป็นที่นิยมกันมากในสมัยโบราณ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความสามารถทางก้านกวีนิพนธ์ที่โดดเด่นและสนุกสนานทั้งผู้เล่นและผู้ฟัง

สักวาเมืองไทย

          สักวาเมืองไทยสมัยนี้                               เลิกแตกแยกกันทีเสียเถิดหนา
ความสามัคคีปรองดองจะนำพา                            ปวงประชาประสานจิตมิตรสัมพันธ์
แม้ความคิดอย่างเดียวคงไม่ได้                            เราคนไทยต้องร่วมใจอย่างมุ่งมั่
รัก เมตตา พัฒนาไปด้วยกัน                                ประเทศไทยคือสวรรค์สุขสันต์เอย





ภาษาไทยมาจาก? หาคำตอบได้ข้างล่างนี้้้!!

อักษรไทย และคนไทย

ตัวอักษร ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะร่วมกันของผู้คนชนเผ่าต่างๆ ขึ้น แล้วเกิดรวมตัวกันมากขึ้นเรียกต่อมาว่า ชนชาติ ราวหลัง พ.ศ.๑๕๐๐ มีชื่อสมมุติเรียกตัวเองต่างๆ กันว่า มอญ เมื่อมีตัวอักษรมอญ กับ เขมร เมื่อมีตัวอักษรเขมร
อักษรไทยวิวัฒนาการจากอักษรขอม เมื่อราวหลัง พ.ศ.๑๗๐๐ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาในรัฐละโว้-อโยธยา แล้วแพร่หลายขึ้นไปถึงรัฐสุโขทัยก่อน หลังจากนั้นได้กระจายไปยังบ้านเมืองแว่นแคว้น "เครือญาติ" ในตระกูลไทย-ลาวอื่นๆ

คำที่ออกเสียงว่า ไท หรือ ไต มีอยู่ก่อนแล้วในกลุ่มชนที่พูดตระกูลภาษาลาว หรือ "ตระกูลลาว" (ชื่อนี้ก็สมมุติเรียกกันภายหลัง) แล้วมีความหมายเดียวกันหมดว่าคน (ที่ต่างจากสัตว์) ชนกลุ่มนี้เป็นประชากรตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกับชนกลุ่มอื่นๆ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เมื่อได้รับอารยธรรม "ทวารวดี" ต่อเนื่องถึงอารยธรรมมอญและเขมร จนเติบโตขึ้นเป็นชนชั้นปกครองในรัฐละโว้-อโยธยา แล้วพัฒนาตัวอักษรของตัวเองขึ้นมา เลยสมมุติชื่อเรียกกลุ่มของตนว่า "ไทย"
อาจเป็นไปได้ว่าคนกลุ่มอื่นเรียกคนกลุ่มนี้ตามคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วว่าไทหรือไต แต่เขียนเป็นอักษรขอม ภาษาบาลีว่า ไทย ต่อมาคนกลุ่มนี้เลยรับไว้เป็นชื่อเรียกตัวเองไปด้วย ดังมีชื่อในวรรณคดียุคต้นๆ เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนกาพย์เบิกโรง ยังเขียนว่า ไท ไม่มี ย ตามหลัง
น่าสังเกตว่าพวกที่รับตัวอักษรไทยจากรัฐละโว้-อโยธยา มักเรียกตัวเองว่าเป็นคนไท หรือไทย เช่น รัฐสุโขทัย แต่ดินแดนอื่นรัฐอื่นที่รับตัวอักษรจากที่อื่นจะไม่เรียกตัวเองเป็นคนไทหรือไทย เช่น รัฐล้านนากับรัฐล้านช้าง รับตัวอักษรมอญไปปรับใช้ เรียกตัวเองว่าลาว หมายถึงท่านหรือผู้เป็นใหญ่ แต่รัฐล้านนาถูกทำให้เป็นไทยเมื่อหลังแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ แล้วถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ส่วนรัฐล้านช้างยังเป็นคนลาวและประเทศลาว สืบจนทุกวันนี้

ภาษาไทย 360 ํ



นี่คือโครงงานภาษาไทย ที่มีชื่อว่า "ภาษาไทย 360 ํ" ที่จะมาให้ความรู็เรื่องภาษาไทยรอบด้ารอย่าง 360 ํ